|
|
|
มหาราชนักประดิษฐ์
พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย |
|
|
หน้าแรก พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย วันเทคโนโลยีของไทย รางวัลเทิดพระเกียรติ พระจอมปราชญ์แห่งแผ่นดิน พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน |
|
ที่มา : https://www.google.co.th/search?q=รางวัลเทิดพระเกียรติ+พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย+(+ร.9+)&newwindow=1&biw |
รางวัลเทิดพระเกียรติ
พระราชกรณียกิจด้านการประดิษฐ์คิดค้นสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เหมาะสมเพื่อ
แก้ปัญหาของประชาชนและยกระดับคุณภาพชีวิตพสกนิกรไทยนั้น เป็นที่ประจักษ์แก่ชาว
ไทยและชาวโลกด้วยความชื่นชมและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ สำนักงานคณะกรรมการ
วิจัยแห่งชาติ ได้ประกาศให้กังหันน้ำชัยพัฒนา ได้รับรางวัลที่ ๑ ประเภทผลงานการคิดค้น
หรือสิ่งประดิษฐ์ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติประจำปี ๒๕๓๖ รัฐบาลได้กำหนดให้
วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น วันนักประดิษฐ์ และถวายพระราชสมัญญา “พระบิดา
แห่งการประดิษฐ์ไทย” กำหนดให้วันที่ ๑๙ ตุลาคม ของทุกปีเป็น วันเทคโนโลยีของไทย
และเทิดพระเกียรติเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” กำหนดให้วันที่ ๕ ตุลาคม
ของทุกปีเป็น วันนวัตกรรมแห่งชาติ และเทคิดพระเกียรติเป็น “พระบิดาแห่งนวัต
กรรมไทย” จากโครงการ “แกล้งดิน” อันเนื่องมากจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส
เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ เมื่อพระราชทานพระราชดำรัสแสดงถึงความ
เป็นนวัตกรรมของ “โครงการแกล้งดิน” เพื่อลดกรดในดินจนปลูกพืชได้ ณ ศูนย์ศึกษา
การพัฒนาพิกุลทอง รัฐบาลยังได้กำหนดให้วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน เป็น “วันพระบิดา
แห่งฝนหลวง” เพราะเป็นวันที่ทรงมีพระราชดำริก่อกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง
ขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้งในช่วงฤดูแล้งและได้ทรงคิดค้นวิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ผสมผสานกับวิธีการทางธรรมชาติ คือ การบังคับเมฆให้มารวมกันทำให้
เกิดเป็นฝนขึ้น ทำให้การเกษตรกรรมไทยมีน้ำใช้ในช่วงเกิดภาวะแห้งแล้ง
ผลงานของพระองค์เป็นที่ชื่นชมของนานาชาติไม่น้อยกว่าประชาชนชาวไทย ในระหว่าง
วันที่ ๑๔ – ๒๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๓ หอนักประดิษฐ์แห่งเบลเยียม (The Belgium
Chamber of Inventor) ซึ่งเป็นองค์กรนักประดิษฐ์ที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรป ได้จัดงานแสดงสิ่ง
ประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ขึ้น เรียกว่า บรัสเซลส์ยูเรกา ๒๐๐๐ (Brussels Eureka 2000 : 49th
Anniversary of the World Exhibition of Innovation, Research and New Technology)
จัดงานแสดงครบรอบปีที่ ๔๙ แห่งวัตกรรมการวิจัยและเทตโนโลยีใหม่ระดับโลกขึ้น
ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
|
คณะกรรมการนานาชาติผู้จัดงานได้กล่าวสดุดีเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ความว่า
“พระมหากษัตริย์ของไทยทรงเป็นนักพัฒนา
มีพระวิริยะอันสูงส่ง รวมทั้งพระอัจฉริยภาพ
และพระวิสัยทัศน์ที่ดี ทรงงานหนักเพื่อ
ประชาชนของพระองค์ ทรงใช้เทคโนโลยีที่
เรียบง่าย สิ่งประดิษฐ์ในพระองค์สามารถนำไป
พัฒนาใช้งานได้อย่างกว้างขวางทั่วโลก” |
|
|
|
|